เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี

ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า

กระหนก หมายถึงลวดลาย แต่จะสะกดว่า กนก ก็ได้ด้วย

กนก หมายถึงทอง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายใน สาส์นสมเด็จ ว่า กนกคงใช้เรียกตู้ลายทอง (ตู้ลายรดน้ำ) แล้วเข้าใจผิดไปว่า ลวดลายนั้นเป็น กนก

บ่อเกิดแห่งลายกนกไทย
ลายไทยมีบ่อเกิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่

ดอกบัว

ดอกมะลิ

ดอกชัยพฤกษ์

ใบฝ้ายเทศ

ผักกูด

ตาอ้อย

เถาวัลย์

กาบไผ่

เปลวไฟ

กำเนิดของลายกระหนก และกระหนกสามตัว
ต้นแบบของลายกระหนก มาจากหางไหล ซึ่งเป็นลายที่มาจากลักษณะของเปลวไฟ

กระหนกสามตัวเป็นแม่ลาย ถือเป็นแม่แบบของกระหนกทั้งหลาย

ลายกนกสามตัว

กนกสามตัว หรือเรียกว่า กนกนาง “นาง เท่ากับ แม่” รวมความแล้วเท่ากับ แม่กนก กนกสามตัว คือ แม่บทของลายไทย ที่บรรจุ ก้าน เถา กาบใหญ่ กาบเล็ก กลีบเลี้ยง ตัวกนกและยอดกนกไว้อย่างครบถ้วน และยังรวมตัวกนกทุกชนิดทุกแบบเอาไว้ด้วย

รูปทรงของลายกนกสามตัว
อยู่ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากด้านไม่เท่า มีส่วนสูงยาวกว่าส่วนกว้าง หรืออยู่ในรูปทรงดอกบัวครึ่งซีก ในการเขียนรูปลายกระหนกสามตัว จะต้องเขียนตัวลายรวมกันสามส่วนและตัวลายแต่ละส่วนก็มีชื่อกำหนดไว้ คือ

1.ตัวเหงา เป็นลายที่อยู่ตอนล่างและอยู่ข้างหน้า มีโครงสร้างขมวดก้นหอยคว่ำหน้าลงปลายยอดตั้งขึ้น แสดงความรู้สึกเศร้า ๆ เหงา ๆ เป็นตัวรองรับกาบและตัวยอด นับเป็นลายตัวต้นและเป็นส่วนที่หนึ่ง
2.กาบ หรือ ตัวประกบหลัง เขียนประกบอยู่ข้างหลังตัวเหงา เป็นตัวลายที่จะส่งให้เกิดลายส่วนที่สามหรือเรียกตัวยอดนับเป็นลายส่วนที่สอง
3.ตัวยอด ลักษณะเป็นเปลวอยู่ยอดสุด มีลักษณะพิเศษกว่าตัวลายสองส่วนที่กล่าวมาคือ เขียนให้ปลายยอดสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ ที่โคนเถาลายมีกาบหุ้ม
เมื่อเอาตัวลายทั้งสามส่วนมาประกอบรวมกัน จะเป็นลายกระหนกสามตัว [แก้ไข] ลายกนกเปลว

ลายกระหนกเปลว เป็นแม่ลายกระหนกอันดับที่ 2 ในขบวนแม่ลายทั้งสี่ ได้รับความบันดาลใจและประดิษฐ์ขึ้นมาจากยอดสะบัดของเปลวเพลิง จึงเรียกชื่อลายว่า “กระหนกเปลวเพลิง” ตามลักษณะของเปลวเพลิง เพื่อให้กะทัดรัดในการเรียกชื่อ จึงตัดคำว่า เพลิง ออกคงเหลือเพียงชื่อ “กระหนกเปลว”
รูปทรงของลายกนกเปลว

มีรูปทรงและส่วนประกอบตัวลายเหมือนลายกระหนกสามตัว แต่มีข้อแตกต่างกันคือ

1. ตัวเหงา เป็นลายที่อยู่ตอนล่างและอยู่ข้างหน้า ตัดจงอยโค้งขมวดก้นหอยออก เขียนลื่นไหลเป็นกาบล่างสำหรับรองรับกาบลายส่วนที่ 2 และ ตัวยอด ส่วนที่ 3
2.กาบ หรือ ตัวประกบหลัง เป็นลายส่วนที่ 2 เขียนประกบอยู่หลังตัวเหงา เป็นตัวลายที่จะส่งให้เกิดลายส่วนที่ 3 หรือเรียกตัวยอด รูปทรงโค้งขมวดก้นหอย บากลาย เหมือนกาบของลายกระหนกสามตัว
3.ตัวยอด ลักษณะเป็นเปลวอยู่ยอดสุด ตัดจงอยโค้งขมวดก้นหอยออก เขียนลื่นไหลไปหายอด สอดไส้ บากลาย ยอดสะบัด และเพิ่มกาบหุ้มที่โคนเถาลาย
กนกใบเทศ

ลายกนกใบเทศ เป็นแม่ลายกระหนกอันดับที่ 3 ในขบวนแม่ลายกนกทั้งสี่ ประดิษฐ์มาจากใบฝ้ายและเถาไม้ นำมาเขียนผูกเป็นลาย

รูปทรงของกนกใบเทศ

มีรูปทรงและการแบ่งตัวลายเหมือนกระหนกสามตัว การเพิ่มรายละเอียดหรือส่วนประกอบตัวลายใช้ใบเทศ และ ลายแข้งสิงห์ เกาะติดก้าน สอดไส้ บากลาย ปลายยอดใบเทศสะบัดพริ้วเหมือนปลายยอดลายกระหนกสามตัว
กนกหางโต
ลายกระหนกหางโต เป็นแม่ลายลำดับที่ ๔ ได้ความคิดประดิษฐ์ลายมาจากรูปทรงพู่หางสิงโต นำมาเขียนเป็นลายกระหนกในรูปทรงของกระหนกสามตัวเรียก ลายหางสิงโต เพื่อให้กะทัดรัดในการเรียกชื่อ จึงตัดคำว่า สิง ออกเรียกว่า ลายกนกหางโต และชื่อของลายนี้จะไปใกล้เคียงกับชื่อของ ลายช่อกระหนกหางโต ฉะนั้น เวลาเขียนลายแต่ละลายต้องจำว่า ลายกระหนกหางโต อยู่ในรูปทรงกระหนกสามตัวส่วนลายช่อกระหนกหางโตจะอยู่ในทรงพุ่มช่อ มีก้านต่อลงมา

รูปทรงของกระหนกหางโต

อยู่ในรูปทรงเดียวกับกนกใบเทศ ซึ่งมาจากรูปทรงกนกสามตัว แบ่งตัวลายออกเป็น 3 ส่วน ในแต่ละส่วนแบ่งออกเป็นก้านใช้ใบเทศติดที่ปลายก้านทั้ง 3 ส่วน และแบ่งเป็นลายแข้งสิงห์เกาะติดก้าน

ข้อแตกต่างระหว่างลายกระหนกหางโตกับลายกระหนกใบเทศ คือ ปลายก้านรูปทรงใบเทศในลายกระหนกหางโต จะเขียนเป็นกระหนกกลับตัว ปลายยอดสะบัดพริ้ว ส่วนลายกระหนกใบเทศ ปลายก้านทั้ง 3 ส่วนเป็นรูปทรงใบเทศ สอดไส้ บากลาย ปลายยอดสะบัดเช่นเดียวกัน

ประเภทของลายกนก
ลายกนกแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้คือ
กนกเปลว

กนกใบเทศ

กนกผักกูด

กนกนารี

กนกหางหงส์

กนกลายนาค

กนกช่อลายต่าง ๆ
ลายกนกแบบล้านนา
ลวดลายแกะสลักไม้ที่นิยมกันในล้านนามีที่มาเช่นเดียวกับภาคกลาง คือ ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ และจากพระพุทธศาสนา ลวดลายที่ลอกเลียนหรือประดิษฐ์จากธรรมชาติก็มีทั้งที่กับที่มีในภาคกลาง เช่น ลายกนก และลายเครือเถาชนิดต่าง ๆ และไม่มีในภาคกลางแต่ไม่มีในภาคเหนือ เช่น ครุฑ

ลายกนก กนกภาคกลางโดยเฉพาะรุ่นหลัง ๆ มักเป็นนกเปลว ละเอียดแน่น แต่กนกล้านนามักขดกลมแปลกตา เช่น กนกชิงหาง นกผักกูดก้านขดฝักมะขาม กนกหงอนไก่ กนกคาบทั้งชนิดขมวดหนึ่งหัวและขมวดสองหัว กนกล้านนามีหางตวัดอย่างเสรีมาก อาจตวัดโค้งงอนมาทางหัวที่ขมวดหรือตวัดไปในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ แล้วแต่ความกลมกลืนของตัวลาย

ลายเครือเถา รวมลายก้นขด ลายกาบหมาก และลายผักกูดไว้ด้วยกัน ลายชนิดนี้อาจมีดอกหรือไม่มีดอกเลย เน้นที่ก้านและใบ

ลายดอกไม้ ใบไม้ เป็นดอกไม้ที่มีก้านและใบประกอบกัน มีลักษณะเป็นธรรมชาติ มักไม่มีลักษณะกนกปน มีทั้งที่คล้ายแบบภาคกลางและลักษระเฉพาะของล้านนา ส่วนมากเป็นดอกบาน มีดอกตูมน้อยกว่า

ลายดอกไม้ที่คล้ายภาคกลาง คือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ดอกพุดตาน ดอกประจำยาม และดอกจันทน์ ส่วนลายที่มีเอกลักษณืของล้านนา คือ ดอกทานตะวัน ดอกเรณู และดอกสับปะรด (ดอกตาขนัด) ซึ่งเป็นรูปสับปะรดทั้งลูกแล้วมีใบ

ลายเมฆและลายเมฆไหล เป็นลายไม้เฉพาะของล้านนา ได้รับอิทธิพลจีน มีในการตกแตงปูนปั้นบ้าง แต่น้อยมาก มีความหมายถึงการอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล และความอุดมสมบูรณ์ ลายเมฆไหลสมัยก่อนไม่มีกนกปน สมัยหลัง ๆ มีปะปนกับลายอื่น ๆ แทบทุกลาย
ลายจากคติต่าง ๆ มีทั้งคติตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา และคติตามความเชื่ออื่น ๆ
ลายสัตว์ ล้านนานิยมทำลายรูปสัตว์มาก โดยเฉพาะสัตว์ตามปีเกิด ปีกุนของล้านนาเป็นรูปช้าง ไม่ใช่หมูเหมือนที่อื่น เนื่องจากล้านนาไม่นับถือหมู
นอกจากสัตว์ตามปีเกิดแล้ว สัตว์อื่น ๆ ที่นิยมก็มีสิงห์ซึ่งเป็นอิทธิพลของพม่า สัตว์ที่นิยมเป็นพิเศษที่ล้านนาคือนาค นาคเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสูงตามคติอินเดีย พุทธศาสนาก็มีอิทธิพลเกี่ยวกับนาค แต่นาคในพุทธศาสนาน่ากลัวน้อยกว่านาคอินเดีย รูปนาคมีปรากฎในศิลปกรรมแทบทุกชนิดที่ล้านนา ตามราวบันไดพุทธสถานที่สำคัญแทบทุกแห่งก็เป็นรูปตัวนาค บางแห่งรูปนาคที่ราวบันไดนี่จะเลื้อยยาวทอดหางขึ้นไปตามขอบประตูจนจรดกันเป็นยอดแหลมที่ซุ้มประตู สัตตภัณฑ์ซึ่งเป็นพุทธศิลป์ที่เด่นมาก อย่างหนึ่งของล้านนาก็นิยมทำลายนาค นาคบางตัวก็พันกันแน่นหนาราวกับเส้นเชือกถัก คันหวยหูช้างก็เช่นกัน มักมีรูปนาคทั้งที่ขดตัวแน่นอยู่ตามลำพังและที่ประกอบลายกับดอกไม้ชนิดต่าง ๆ

ลายอื่น ๆ นอกจากลายหลักทั้งหมดดังกล่าวแล้ว ยังมีลายอื่น ๆ อีก เช่น ลายซุ้มที่พบได้ตามซุ้มประตูเก่า ๆ ลายอิทธิพลอื่น ๆ เช่น ลายเคนือเถาฝรั่ง ลายประแจจีนอิทธิพลจีน ลายพม่า และลายไทใหญ่ ฯลฯ

ลวดลายกนกในกาเเล

กาแล คือชื่อส่วนประดับอยู่บนหลังคาเรือน มีลักษณะเป็นไม้แบบเหลี่ยมแกะสลักให้มีลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่โดยติดในาลักษณะไขว้กันมีขนาดยาวประมาณ 70– 100เซนติเมตร ความหนาประมาณ2 – 3เซนติเมตรและกว้างประมาณ15 – 20เซนติเมตร เนื่องจากที่กาแลมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นการตกแต่งให้เรือนกาแลงดงามยิ่งขี้น ดังนั้นจึ่งมีการยึดเอากาแลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นล้านนา ความงานของกาแลอยู่ที่ลวดลายการและสลักรูปทรงฝีมือการแกะสลักไม้ของทางเหนือ ประกอบกับการที่มีลวดลายบางชนิดเป็นลวดลายเฉพาะท้องถิ่น ทำให้เกิดความงามที่ไม่เหมือนกับที่อื่นลักษณ์ของกาแลอาจจำแนกได้ดังนี้

ลวดลายแกะสลัก
กาแลทุกชนิดที่พบที่การแกะสลักเป็นลวดลายมีความงดงามต่างๆกันไป ลักษณะลวดลายอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ

1. ลายกนกสามตัวซึ่งเป็นต้นแบบของลายไทยสามารถผูกเป็นลวดลายแยบยลต่างๆ ให้ละเอียดมากน้อยได้ลวดลาย เริ่มที่โคนของกาแลประกอบด้วยโคนช่อกนก ซึ่งมีกาบหุ้มก้านซ้อนกันหลายๆชั้น คล้ายก้านของไม้เถาที่ผุดออกมาตามธรรมชาติ จากนั้นก้านกนกก็แตกออกเป็นช่อตามระบบกนกสามตัว ซึ่งสลับหัวกันคนละข้างจนถึงยอดกนก หรือยอดกาแลกาบก้านก็สะบัดโค้งและเรียวแหลมที่สุดยอด ลายกนกนั้นมีข้อปลีกย่อยต่างจากลายของภาคกลางบ้าง เช่น การขมวดหัวมีมาก ขมวดกลมเป็นก้นห้อยแต่ไม่นูนแหลมนัก ใช้หัวใหญ่กว่า การสะบัดหางกนกสั้นกว่าแต่โค้งงอมาก และลักษณะทั่วๆไปกนกตัวใหญ่กว่าของภาคกลาง ก้านกนกดูซ้อนกันหลายชั้นส่วนเป็นเพราะมีกาบหุ้มก้านมาก หัวกนกของกาบที่ขมวดจับก้านมีขนาดใหญ่ม้วนกลมมากนับก้านลึกและหัวกนกงอมาก เนื่องจากกาแลถูกแดดฝนทำให้ลวดลายลบเลือนตามเวลาที่ผ่านไป จนบางอันลบเลือนมาก จนบอกลายละเอียดได้ยาก

2. ลายเถาไม้หรือลายเครือเถา เป็นลวดลายซึ่งมีรูปแบบของลายกนกอยู่บ้าง แต่มีลักษณะคล้ายเถาไม้ หรือช่อกิ่งและใบไม้ที่เกาะกันช่อปลายขมวด ลายเริ่มที่โคนกาแลเหมือนกัน ประกอบด้วยก้านและกาบหุ้มก้าน ลายส่วนใหญ่ประกอบด้วยก้านซึ่งมีกาบหุ้มหลายชั้น ส่วนนอกของกาบเมื่อใก้ลยอดจะกลายเป็นใบ ซึ่งปลายของใบขมวดเหมือนลายผักกูด การโค้งงอของช่อใบสลับกันคนละข้าง จนถึงยอดช่อซึ่งสะบัดโค้งงออย่างสวยงาม สำหรับกาแลที่ใช้ลวดลายชนิดนี้พบมีทั้งที่แกะสลัก และฉลุโดยทั่วไปลาประเภทนี้ว่าเป็นลายเรียบง่ายเข้าลักษณะศิลปะพื้นบ้าน

3. ลายเมฆไหล ลายเมฆไหลเป็นลักษณะลายชนิดหนึ่งของล้านนา เป็นลวดลายซึ่งคงเป็นจินตนาการของศิลปินที่มีต่อเมฆ ลายเมฆไหลที่นำมาใช้สำหรับกาแลไม่ค่อยเหมือนลายเมฆไหลที่ใช้สำหรับส่วนอื่น คือมีองค์ประกอบของลายกนกหรือลายเครือเถาอยู่ ประกอบด้วยก้านกนกเป็นกาบหลายชั้นและแตกเป็นก้านและช่อตามระบบกนกสามตัวเช่นกัน แต่ตัวกนกแต่ละตัวมีลักษณะเหมือนลายเมฆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ รูปแบบลายผูกเป็นเถาแต่ตัวกนกเป็นลักษณะลายเมฆ ลักษณะเมฆไหลนี้กล่าวโดยย่อคือ ลายประกอบตัวก้านลายที่ขดหยักเหมือนไหลไปมาและตวัดวกกลับอย่างเฉียบพลันตรงบริเวณที่ตวัดกลับจะเป็นหัวขมวดม้วนกลม ได้ลักษณะหัวขมวด แต่แตกก้านออกเป็นสองก้านซึ่งวิ่งแยกจากกันคนละทิศ ( ดูเพิ่มที่ ตอนกล่าวถึงลวดลายการแกะสลักของ หัมยนต์ ) ที่จริงแล้วลายเมฆไหลของกาแลดูคล้ายลายกนกสามตัวหรือลายเครือเถา

ความเเตกต่างของลายกนกของภาคเหนือเเละภาคกลาง
เนื่องจากลายกนกล้านนามีลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับของภาคกลางเสียทีเดียว แม้ว่าบางรูปแบบจะคล้ายกันก็ตาม จึงเห็นสมควรกล่าวถึงกนกล้านนาที่ต่างจากของภาคกลางไว้ ดังนี้

1. กนกหงอนไก่ ตัวกระหนกที่ต่อกับก้านมีลักษณะเชิด หัวโตและหางโค้งงอนเหมือนหงอนไก่

2. กนกเหงาสามตัวหางรวน มีรูปแบบเป็นกระหนกเหงาสามตัวของภาคกลาง แต่หัวม้วนขอด หางโค้งงอน

3. กนกชิงหาง เป็นกระหนกที่เรียบง่าย ตัวผอมจับคู่สลับหัว-หางกัน

4. กนกผักกูด ก้านขดฝักมะขามเทศโดยมีหัวขดเป็นหยักๆ สลับกับกระหนกหัวขอด หางตวัดโค้งงอนมาก

5. กนกคาบ ซึ่งเป็นกระหนกจับตัวก้านมีลักษณะหัวขอด ปลายหางตวัดโค้ง มี 2 ชนิด คือ หัวหนึ่งขมวดและสองขมวด

6. กนกชนิดที่มีหัวขอดกลมโตเป็นก้นหอย ส่วนปลายโค้งงอนมาก

ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%81

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่

สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

“สุนทรภู่” ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย

จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง “รามเกียรติ์” ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น “ขุนสุนทรโวหาร”

ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “สังข์ทอง” ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง “สวัสดิรักษา” ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ “พ่อตาบ

“สุนทรภู่” รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า “ห้องสุนทรภู่”

สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ”พ่อพัด” เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน “พ่อตาบ” เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ “พ่อนิล” เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ “พ่อกลั่น” และ “พ่อชุบ” อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า “ภู่เรือหงส์”

ผลงานของสุนทรภู่

หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…

ประเภทนิราศ

– นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) – แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง

– นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) – แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา

– นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) – แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

– นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง

– นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา

– นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา

– รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) – แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น “รำพันพิลาป” จากนั้นจึงลาสิกขาบท

– นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี

– นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) – แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน

เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

พระอภัยมณี

สุดสาคร

ประเภทสุภาษิต

– สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

– สุภาษิตสอนหญิง – เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

– เพลงยาวถวายโอวาท – คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร

– เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา

– เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)

– เรื่องพระราชพงศาวดาร

ประเภทบทเห่กล่อม

แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี

ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่

ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ “วรรคทอง” ยกตัวอย่างเช่น

บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

บางตอนจาก นิราศอิเหนา

จะหักอื่นขืนหักก็จักได้
หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก
สารพัดตัดขาดประหลาดนัก
แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ

บางตอนจาก พระอภัยมณี

บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)

แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)

อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา

เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง “คำมั่นสัญญา”)

บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ

รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา
จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย
มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย
ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง

บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก
ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน
จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย

ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ
เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน

(ขุนแผนสอนพลายงาม)

บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ

บางตอนจาก นิราศพระบาท

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล
ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง

ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก
เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง
พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล…

ที่มาของวันสุนทรภู่

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันสุนทรภู่” ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ “วัดเทพธิดาราม” และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่

1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่

ที่มา http://hilight.kapook.com/view/24209

ทฤษฎีบททฤษฎีบทพีทาโกรัส กล่าวไว้ว่า
“ผลรวมของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประชิดมุมฉากทั้งสอง จะเท่ากับ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉาก”

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

จากภาพ จะสังเกตว่า ผลรวมของพื้นที่ของสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินและสีแดง จะเท่ากับ พื้นที่ของสี่เหลี่ยมสีม่วง เราสามารถเขียนทฤษฎีบทนี้ให้อยู่ในรูป สมการ c2 = a2 + b2 โดยที่ a และ b เป็นความยาวด้านประชิดมุมฉากทั้งสองของสามเหลี่ยมมุมฉาก และ c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก
วิธีการพิสูจน์อีกแบบสามารถแสดงได้ดังรูปด้านล่าง

 บทกลับของทฤษฎีบทปีทาโกรัสบทกลับของทฤษฎีบทปีทาโกรัสนั้นเป็นจริง โดยกล่าวไว้ดังนี้

“กำหนด a, b และ c เป็นจำนวนจริงบวกที่ a2 + b2 = c2 จะมีสามเหลื่ยมมุมฉากหนึ่งรูปที่มีความยาวด้าน เป็นจำนวนสามจำนวนนั้น และด้านที่มีความยาว a และ b จะเป็น[[ด้านประกอบมุมฉาก]
บทกลับนี้ยังปรากฏอยู่ในหนังสือ Euclid’s Elements ของ ยุคลิดด้วย โดยบทกลับนี้สามารถพิสูจน์ได้โดยใช้ กฎของโคไซน์ หรือตามการพิสูจน์ดังต่อไปนี้

“กำหนดสามเหลี่ยม ABC มีด้านสามด้านที่มีความยาว a,b และ c และ a2 + b2 = c2 เราจะต้องพิสูจน์ว่ามุมระหว่าง a และ b เป็นมุมฉาก ดังนั้น เราจะสร้างสามเหลื่ยมมุมฉากที่มีความยาวของด้านประกอบมุมฉาก เป็น a และ b แต่จากทฤษฎีบทปีทาโกรัส เราจะได้ว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก ของสามเหลื่ยมรูปที่สองก็จะมีค่าเท่ากับ c เนื่องจากสามเหลี่ยมทั้งสองรูปมีความยาวด้านเท่ากันทุกด้าน สามเหลี่ยมทั้งสองรูปจึงเท่ากันทุกประการแบบ “ด้าน-ด้าน-ด้าน” และต้องมีมุมขนาดเท่ากันทุกมุม ดังนั้นมุมที่ด้าน a และ b มาประกอบกัน จึงต้องเป็นมุมฉากด้วย”

จากบทพิสูจน์ของบทกลับของทฤษฎีบทปีทาโกรัส เราสามารถนำไปหาว่ารูปสามเหลี่ยมใด ๆ เป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม, มุมฉาก หรือ มุมป้าน ได้ เมื่อกำหนดให้ c เป็นความยาวของด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยม

ถ้า a2 + b2 = c2 สามเหลี่ยมนั้นจะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก  , ถ้า a2 + b2 < c2 สามเหลี่ยมนั้นจะเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม    , ถ้า a2 + b2 > c2 สามเหลี่ยมนั้นจะเป็นสามเหลี่ยมมุมป้าน

ที่มา th.wikipedia.org/wiki/

การทำน้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพ

สูตรแบบอตราส่วน 1:3:10 คือ น้ำผึ้ง/น้ำตาล: ผลไม้: น้ำ

ของที่ใช้

1.ผลไม้ ที่ต้องการสรรพคุณนั้นๆมา แนะนำว่าควรใช้ผลไม้หลายชนิดจะดีกว่าครับ เพราะจะได้สรรพคุณที่หลากหลาย และดูตามสรรพคุณที่ต้องการก่อนหมักจะดีมาก

2.โหล หรือ ขวดใส่น้ำหมักมีฝาปิด จะใช้ไหหรือโหลเซรามิกก็ได้แต่ต้องเคลือบ ถ้าเป็นพลาสติกไม่ควรจะเป็นพลาสติกที่ไม่ละลายง่าย คือเมื่อใช้ไปนานๆจะไม่เกิดสารที่เป็นพิษออกมา

แนะนำว่าเป็นพลาสติกแบบใสเพราะจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

3.น้ำสะอาด

4.น้ำผึ้งหรือน้ำตาล

วิธีการทำเริ่มจาก

1.ล้างผลไม้ให้สะอาด ล้างตะกอนยาฆ่าแมลงออก

2.ล้างโหลให้สะอาด

3.ผ่าผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือเอาเปลือกออก เพื่อให้ปฏิกิริยาเกิดเร็ว

4.ใส่ผลไม้ลงโหลประมาณ 3 ส่วน แล้วใส่น้ำให้ปริ่ม 10 ส่วน

5.ใส่น้ำผึ้ง/น้ำตาล ตามลงไป 1 ส่วน ให้เหลือพื้นที่ว่างประมาณ 1ใน 5 ส่วน

6.คนเบาๆให้เข้ากัน

7.ปิดฝา เก็บเป็นเวลา 3เดือน ไม่ให้ถูกแสงแดดส่อง และอากาศถ่ายเทสะดวก แล้วจึงค่อยเปิดให้อากาศได้ระบายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

8.จากนั้น 3 เดือน จึงค่อยวัดค่า PH และดมกลิ่น (ระวังให้อากาศได้ระบายออกสัก 5 นาทีก่อน มิเช่นนั้น กลิ่นจะเหม็นมาก)

9.หากพบน้ำใสลอยตัว ดูดออกแล้วนำมาขยายต่ออีก 14 ครั้งทุกๆ 3 เดือน ในอัตราส่วน น้ำใส1: น้ำผึ้ง1:น้ำ10

10.ตัวกากทำเช่นเดียวกัน (แต่ทำได้3ครั้ง) แล้ว กากที่เป็นตะกอน ใช้1ช้อนโต๊ะคลุกผลไม้ 10 กิโลกรัม แล้วหมักต่อจนได้น้ำใส

ที่มา http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=4018

 
สร้างตัวหนังสือแตกๆ ด้วย Photoshop
1. สร้างไฟล์ใหม่แล้วกด T ที่แป้นพิมพ์ แล้วทำการพิมพ์ข้อความค่ะ
2. กด Ctrl+J จะได้ layer ใหม่ตามด้านล่างค่ะ
การทำตัวหนังสือแตกด้วย photoshop

photoshop

3. Filter —> Stylize —> Tiles

ตั้งค่า Number Of Tiles ค่ะ แล้วกด OK

จะได้ตามด้านล่างค่ะ

4. click ขวาที่ layer แรกที่ไม่ใส่ layer ที่เรา copy มา แล้วเืลือก Rasterize Layer

5. จากนั้นให้ click เลือก layer ที่เรา copy มาค่ะ แล้ว เลือก Magic Wand Tool (W) ค่ะ

ทำการเลือกพื้นที่ที่เป็นสีชมพูจะได้ตามด้านล่างค่ะ

6. จากนั้นให้เลือกที่ layer ตามแทบสีฟ้าด้านล่างค่ะ แล้วกด delete ที่แป้นพิมพ์

แล้วเราลองปิดตาที่ layer copy ค่ะ

จะได้ตามด้านล่างค่ะ

7. ทำการตามข้อ 5-6 จนได้รูปตามด้านล่างค่ะ

ตกแต่งให้สวยงามค่ะ

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยี

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet Thailand) ได้รับการจัดตั้งขึ้น และมีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยเป็นโครงการที่เชื่อมโยงโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยเข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียน ครู และนักเรียน ได้เข้าถึงศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต ที่เป็นแหล่งความรู้จากทั่วโลกได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่นี้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนทำการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และการทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาร่วมกันบนเครือข่าย ต่อจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๒ ในการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษาทั่วประเทศที่มีความพร้อมรวม ๕,๐๐๐ โรงเรียน ซึ่งแต่ละโรงเรียนสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านเลขหมายพระราชทาน ๑๕๐๙ ได้ฟรีโดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าโทรศัพท์ในอัตราท้องถิ่น (ครั้งละ ๓ บาท)

ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนนั้น เนคเทคได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยนี้ กิจกรรมเหล่านี้ได้แก่

การให้บริการเครือข่ายแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และบริการ helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้สามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้

งานด้านกิจกรรมบนเครือข่าย อาทิ การจัดทำเว็บไซต์ของโครงการเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาให้แก่ โรงเรียน ครู อาจารย์ และ นักเรียน รวมทั้งบุคคลทั่วไป และยังเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซต์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ (http://www.school.net.th) นอกจากนั้น ยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชน ได้แก่ เกมส์แข่งขันตอบปัญหา Digital Library ประจำสัปดาห์สำหรับเยาวชน โครงการ SchoolNet & ThaiBikeWorld (http://www.school.net.th/thaibikeworld) และการส่งเสริมให้เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมนานาชาติ เช่น GLOBE, ThinkQuest เป็นต้น

งานพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับครู และนักเรียน ได้จัดทำโครงการโครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) เพื่อเป็นการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย โครงการพัฒนาเครื่องมือสร้างเว็บเพจอย่างง่าย (Digital Library Toolkit) การจัดทำโครงการ “ประกวดเว็บไซต์เพื่อการศึกษาสำหรับครูและนักเรียน” โดยร่วมมือกับกรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ การจัดทำโครงการ “พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล โดยโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา” โดย ร่วมงานกับกรมสามัญศึกษา

งานสัมมนาทางวิชาการ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ งานสัมมนา “เปิดโลกใหม่การศึกษากับ SchoolNet@1509: ตอน สัญจร 13 เขตการศึกษา” งานสัมมนาทางวิชาการ และนิทรรศการ “มหกรรมอินเทอร์เน็ตเพื่อการในโรงเรียน 5 ภาค” เป็นต้น

งานการพัฒนาบุคลากร โดยการจัดทำ โครงการอาสาสมัครในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อ โรงเรียนไทย (SchoolNet Volunteer) ขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้คำปรึกษาปัญหาทางเทคนิค และให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนในโครงการในด้านต่างๆ (รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏที่ URL http://school.net.th/volunteer/)

ที่มา http://www.nectec.or.th/hrd/schoolnet.php

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจการขนม การพับกระดาษ การเต้น ซึ่งเนื้อหาประกอยวิดีโอต่างๆ

การทำเค้กช็อกโกแลต

การทำขนมครก

การเต้นจินตลีลา